โรงเรียนบ้านไทรทอง  ตั้งอยู่หมู่ที่  6 ตำบลปงน้อย  อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย  สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3  แต่เดิมราษฎรในหมู่บ้านต้องนำบุตรหลานไปเข้าเรียน  ณ โรงเรียนบ้านผ่านศึกสงเคราะห์ 1  ซึ่งมีระยะทางห่างประมาณ 3 กิโลเมตร ต่อมาในปี  พ.ศ. 2523 ราษฎรในหมู่บ้านโดยการนำของ นายประมวล แสงสุข  ได้ดำเนินการขอตั้งโรงเรียนขึ้นที่หมู่บ้านไทรทอง  ในปัจจุบัน  มีเนื้อที่   21  ไร่  3 งาน 22 ตารางวา โดยราษฎรร่วมกันบริจาคที่ดินให้และร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 2 ห้องเรียนจำนวน 1 หลัง และได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 19  พฤษภาคม 2524 โดยมี นายอุทิศ  วรรณดี เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

จำนวน 1 หลัง ราคา 521,000 บาท และได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ 33 จำนวน 1 ชุด ราคา 29,500  บาท และงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู แบบกรมสามัญศึกษาขนาด 2 ห้องนอน 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง

จำนวน 25,000 บาท  และต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง สปช. ใช้เป็นห้องเรียนและห้องสมุด

ขนาด 3 ห้องเรียนกว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร สิ้นงบประมาณก่อสร้าง 150,000 บาท

ขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ลึก 3 เมตร

15,000 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ

จากงบประมาณแปรญัตติ และได้รับงบประมาณสร้างส้วม สพฐ.4 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 350,000 บาท

ประเทศไทย จำกัด  โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเชียงราย โรงเรียนพานพิทยาคม และร้านพูนทรัพย์วัสดุก่อสร้าง อำเภอดอยหลวง มูลค่า 359,000 บาท โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี) มาเป็นประธานเปิด เมื่อวันที่ 20  ธันวาคม 2553 และตั้งชื่อว่าห้องสมุด “ปัญญานิธิ” แปลว่า ขุมทรัพย์แห่งปัญญา

มีนักเรียน 64 คน  มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 5 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน 

เจ้าหน้าที่ดิจิทัล 1 คน  ลูกจ้างประจำ  1 คน  ธุรการ 1 คน โดยมีรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน  คือ นางสาวเสาวณีย์ ไชยชมภู


ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม สืบสานภูมิปัญญา รักษาสิ่งแวดล้อม พึ่งพาตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

1. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบและมีคุณธรรม จริยธรรม

2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนอนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. พัฒนาให้โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม